รถ Mobile Stroke Unit

รถ Mobile Stroke Unit

โรคหลอดเลือดสมองเป็นปัญหาสําคัญทั่วโลก การรักษาโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลันทําได้โดยการให้ยาสลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดําภายใน 4.5 ชั่วโมง ควบคู่ไปกับการใส่สายสวนเพื่อทําการเปิดหลอดเลือด ปัจจัยที่สําคัญที่สุดในการรักษา คือ ยิ่งรักษาเร็วยิ่งได้ผลดี แต่ในประเทศไทยการรักษานี้ยังมีข้อจํากัดอยู่ มากในด้านของผู้เชี่ยวชาญในการทําหัตถการ ทีมสนับสนุนและอุปกรณ์ที่มีราคาแพง จึงสามารถทําได้เพียงโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์บางแห่งหรือโรงพยาบาลเอกชน ขนาดใหญ่เท่านั้น

ในการนี้ ศูนย์โรคหลอดเลือดสมองศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้จัดทําร่วมมือกันจัดทําโครงการโมบายสโตรคยูนิตเชื่อมต่อกับระบบปรึกษาทางไกลและการส่งต่อผู้ป่วยแบบครบวงจรสําหรับทุกคน (Mobile Stroke Unit, TeleConsultation and Patient Transfer; A One-Stop Service for AL) หรือเรียกสั้นๆ ว่า MSU-SOS (Mobile Stroke Unit, Stroke One Stop) ขึ้น โดยปัจจุบันมีรถ Mobile Stroke Unit 6 คัน ซึ่งรถต้นแบบนี้จะมีการพัฒนาขึ้นไปเรื่อยๆ โดยร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล และ บริษัท อาร์เอ็มเอ ออโตโมทีฟ จํากัด

MSU-SOS ถือเป็นโครงการต้นแบบการพัฒนาระบบปรึกษาทางไกล เพื่อรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลันโดยใช้รถโมบาย สโตรคยูนิตให้มี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยนําเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ติดตั้งไว้บนรถ ซึ่งสามารถสแกนสมองผู้ป่วยร่วมกับใช้ระบบปรึกษาทางไกลผ่านโครงข่ายไร้สายความเร็วสูง 4G/5G เพื่อสื่อสารกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญตัดสินใจให้ยาสลายลิ่มเลือดบนรถได้ทันที นอกจากนี้ยังสามารถฉีดสารทึบแสงบนรถในการประเมินหลอดเลือดสมอง เพื่อลด ระยะเวลาและให้การวินิจฉัยที่แม่นยํา รวมถึงลดขั้นตอนการส่งต่อระหว่างโรงพยาบาลให้สั้นลง ส่งผลให้ลดอัตราความพิการและการเสียชีวิต ลดความสูญเสียต่อตัว ผู้ป่วย ครอบครัว ลดค่าใช้จ่ายของกองทุนสุขภาพในการดูแลผู้ป่วยที่พิการระยะยาวได้

MSU-SOS เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ 24 ชั่วโมงต่อวัน 7 วันต่อสัปดาห์ ตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคม 2561 ถึงปัจจุบันให้บริการผู้ป่วยไปแล้วจํานวน 598 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 8 พ.ย. 2564) พบว่า สามารถลดระยะเวลาการรักษาได้ชัดเจน ลดอัตราความพิการลงได้ นอกจากนี้ ยังสามารถลดความเหลื่อมล้ำการเข้าถึงการรักษาเร่งด่วนโดยสามารถให้บริการกับผู้ป่วยในทุกสิทธิการรักษาเพื่อรักษาได้อย่างทันท่วงที ปัจจุบันได้เปิดให้บริการในพื้นที่ต่างๆ คือ

Partners/Stakeholders

-

ผู้ดำเนินการหลัก
-
ผู้ดำเนินการร่วม
-